สารต่อต้านคาร์บูไรซิ่ง
เราจัดจำหน่ายสารต่อต้านคาร์บูไรซิ่งนำเข้าจากประเทศญี่ปุ่น
เราเป็นผู้จำหน่ายน้ำยาคาร์บอนคิลเลอร์ผลิตโดย “อุตสาหกรรมเคมีหนักบันเซอิ”
ความสำคัญของสารต่อต้านคาร์บูไรซิ่ง
- หากกระบวนการหลังการผลิตมีขั้นตอนการขัดแต่งผิวชิ้นงานร่วมด้วย ผิวของวัตถุชุบคาร์บูไรซิ่งจะแข็งเกินกว่าจะขัดแต่งได้
- ในระหว่างกระบวนการเชื่อม คาร์บอนปริมาณมากอาจทำให้เกิดรอยรั่วได้
- ส่วนที่ชุบคาร์บูไรซิ่งมักไม่ทนต่อแรงกระแทก สารต่อต้านคาร์บูไรซิ่งจะป้องกันไม่ให้เส้นเกลียวได้รับแรงกระทบ
การทำงานของการคาร์บูไรซิ่ง
- อะตอมคาร์บอนแทรกซึมเข้าไปในชั้นผิวของโลหะ ทำให้ชั้นผิวมีความแข็งสูงและต้านทานการสึกหรอ
(ขณะที่ภายในยังมีความเหนียว)
การทำงานของสารต่อต้านคาร์บูไรซิ่ง
- เคลือบชั้นผิวของโลหะและยับยั้งการคาร์บูไรซิ่ง
CARBON-KILLER No.2
- ความหนืด: 10~300 dPa·s (ทำให้เจือจางได้ด้วยสารทำให้เจือจางพิเศษ)
- ความหนาผิวเคลือบ: ประมาณ 0.3~1.0 มิลลิเมตร
- เวลาแห้ง: มากกว่า 4 ชั่วโมง
- การทำความสะอาด: ล้างออกด้วยน้ำร้อน (จุ่ม รด หรือวิธีอื่น ๆ)
- ข้อดี: แห้งเร็ว เทได้ดี
- ข้อเสีย: ต้องคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมในการทำงานโดยใช้สารละลายอินทรีย์ (การระบายอากาศเฉพาะที่หรือวิธีอื่น ๆ)
CARBON-KILLER No.3
- ความหนืด: 15~45 dPa·s
- ความหนาผิวเคลือบ: ประมาณ 0.3 มิลลิเมตร
- เวลาแห้ง: มากกว่า 6 ชั่วโมง
- การทำความสะอาด: ชู้ทบรัสท์
- ข้อดี: ใช้ปริมาณน้อย ราคาถูกและละลายน้ำได้
- ข้อเสีย: ลอกยากและต้องใช้ชู้ทบรัสท์
CARBON-KILLER No.4
- ความหนืด: 40~80 dPa·s
- ความหนาผิวเคลือบ: ประมาณ 1.0 มิลลิเมตร
- เวลาแห้ง: มากกว่า 8 ชั่วโมง
- การทำความสะอาด: ล้างออกด้วยน้ำร้อน (จุ่ม รด หรือวิธีอื่น ๆ)
- ข้อดี: ละลายน้ำได้และล้างออกได้ด้วยน้ำร้อน
- ข้อเสีย: ผิวเคลือบมีความหนา ใช้เวลาแห้งนาน
ประเภทและคุณลักษณะของน้ำยาคาร์บอนคิลเลอร์
CARBON-KILLER No.2 | CARBON-KILLER No.3 | CARBON-KILLER No.4 | |
---|---|---|---|
การทำให้เจือจาง | สารทำละลาย | น้ำ | น้ำ |
คุณสมบัติการใช้งาน | ○ | ◎ | ○ |
สารต่อต้านคาร์บูไรซิ่ง | ○ | ◎ | ○ |
การทำความสะอาด | ◎ | ○ | ◎ |
สภาพแวดล้อม | △ | ◎ | ◎ |